วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 งบลงทุน

บทที่ 3 งบลงทุน (Capital  Budgeting)

            งบลงทุน คือ แผนการใช้จ่ายลงทุนในทรัพย์สินถาวร (เงินที่เราใช้ลงทุนทำสินทรัพย์หรือทำธุรกิจ เช่น ที่ดิน อุปกรณ์)

ประเภทของโครงการลงทุน  แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.  โครงการลงทุนเพื่อลดต้นทุน (cost reduction project)  มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือการ        ดำเนินงานหรือเป็นโครงการที่ต้องการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพ
ตัวอย่าง  การลงทุนในเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าที่กำลังจะหมดอายุการใช้งาน โดย                        เครื่องจักรใหม่ต้องมีประสิทธิภาพกว่าเครื่องเก่าและสามารถลดต้นทุนการผลิตและการดำเนิน                  งานได้
2.  โครงการลงทุนใหม่ (expansion project)  เป็นการลงทุนนที่ต้องการจะตอสนองความต้องการของผู้          บริโภคที่เพิ่มขึ้นในสินค้าและบริการของบริษัท
ตัวอย่าง  บริษัททำการผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด
3.  โครงการลงทุนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือกฏหมาย (mandated project) การลงทุน        ประเภทนี้บริษัทจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการลงทุน  แต่ถ้าหากบริษัทไม่ปฏิบัติตามก็อาจ        จะมีปัญหาในการดำเนินงานได้
ตัวอย่าง  การลงทุนในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมหรือลงทุนสร้างระบบความปลอดภัยใน                อาคาร

ลักษณะของโครางการลงทุน  แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.  โครงการลงทุนที่อิสระต่อกัน  คือ ทำพร้อมกันได้ 2 โครงการ (ไม่มีการแข่งขันซึ่งกันและกัน) เช่น            โครงการวางระบบโทรศัพท์ใหม่  และโครงการสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่
2.  โครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน คือ ทำได้แค่โครงการเดียว เช่น  บริษัทจะลงทุนเปลี่ยน       เครื่องถ่ายเอกสารใหม่  บริษัทก็ต้องเลือกระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารสองยี่ห้อcanonหรือhp (เป็นการ         เปรียบเทียบ)

ขั้นตอนของการจัดทำงบลงทุน
1.  ทำการค้นหาหรือศึกษาการลงทุน เช่น ต้องใช้อะไรทำบ้าง  มีรายละเอียดอะไรบ้าง
2.  ประมาณการกระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน(มูลค่าของโครงการลงทุน)
3.  ประเมินโครงการลงทุนและตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน
4.  การดำเนินงานตามโครงการลงทุนและการตรวจสอบโครงการลงทุน

แนวทางการประมาณการกระแสเงินสด
1.  ควรใช้กระแสเงินสดเป็นเครื่องมือในการประมาณการมากกว่าผลกำไรในทางบัญชี
     การะแสเงินสด คือ เงินสดที่กิจการได้รับและสามารถนำไปลงทุนได้อีก
     กำไรในทางบัญชี  คือ สิ่งที่กิจการทำมาหาได้ แต่ไม่ใช่เงินสดที่มีจริงๆในมือ
         นอกจากนั้นเวลา(Time) ยังทำให้กระแสเงินสดกับกำไรแตกต่างกัน เนื่องจากกระแสเงินสดเป็นเครื่องมือในการสะท้อนความเป็นจริงของเวลาได้ดีกว่าทางบัญชี
2.  ควรคำนึงถึงส่วนเพิ่มหรือส่วนต่างของกระแสเงินสด  คือ เราต้องเปรียบเทียบว่าถ้าเราลงทุนกับไม่            ลงทุนในกิจการอันไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน
3.  ควรระมัดรัวังกระแสเงินสดที่มาจากการโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว  คือ  จะไม่พิจารณาจากกลุ่มของ              ลูกค้าเก่าที่เรามีอยู่แล้ว
4.  ควรพิจารณาถึงผลรวมของทั้งกิจการ
5.  ควรพิจารณาถึงความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น คือ ถ้าเราจะลงทุนกิจการใหม่เงินทุนเราพอ        ไหม
6.  ควรพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่ม คือ การพิจารณาโครงการลงทุนเราพิจารณากระแสเงินสดสุทธิ        ของโครงการ  ซึ่งจะเกิดจากการเปรียบเทียบระหว่าง
          - กระแสเงินสดรับส่วนเพิ่ม : ส่วนของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
          - กระแสเงินสดจ่ายส่วนเพิ่ม: ส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ตัวอย่าง  หากจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่  ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มเติม ได้แก่ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในการผลิต                                ผลิตภัณฑ์ใหม่  หรือ  ค่าวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
7.  ต้นทุนจมไม่ถือว่าเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม คือ เงินที่เราจ่ายไปแล้วไม่ว่าเราจะได้ใช้ประโยชน์หรือ        ไม่ได้ใช้ เราไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ เช่น ซื้อที่ดิน
8.  ควรพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาส  คือ  มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียไปในการเลือก        ทำกิจกรรมอย่าง
ตัวอย่าง  กิจการยอมรับโครงการใหม่ที่จะผลิตภัณฑ์ใหม่  ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ในการผลิต 50 ตารางเมตร                  โดยถ้ากิจการไม่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่  กิจการก็สามารถให้เช่าพื้นที่ 50 ตารางเมตรนี้ได้                  ในราคา 3,000 บาทต่อเดือน  ค่าเช่า 3,000 บาทนี้ คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสซึ่งต้องนำมา                            พิจารณาในการวิเคราะห์โครงการด้วย
9.  ควรพิจารณาถึงต้นทุนส่วนกลางว่าเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหรือไม่  เช่น  ค่าน้ำปะปา  ค่าไฟฟ้า              เป็นต้น  ซึ่งต้องพิจารณาว่าต้นทุนดังกล่าวเป็นส่วนเพิิิ่มสำหรับโครงการลงทุนใหม่หรือไม่
10.  ดอกเบี้ยจ่ายและการจัดหาเงินทุนจะไม่นำมาพิจารณาในการประมาณการกระแสเงินสด

การประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
            การประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน  จะให้ความสนใจต่อกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหลังหักภาษี  สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.  กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
2.  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มตลอดอายุของโครงการ
3.  กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ

กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
            เป็นกระแสเงินสดจ่ายที่จำเป็นต่อการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในการดำเนินงานของบริษัทการคำนวนได้ดังนี้  ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
1. กรณีซื้อสินทรัพย์ใหม่เข้ามาใช้ในกิจการ
    เงินสดจ่ายลงทุน = ต้นทุนทางการบัญชีของสินทรัพย์ + ค่าขนส่ง + ค่าติดตั้งและทดลองเครื่อง
2. กรณีซื้อสินทรัพย์ใหม่และขายสินทรัพย์เดิม ซึ้งกรณีนี้จะมีกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์เดิมซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านภาษี
3. กรณีนำสินทรัพย์เก่าไปแลก (Trade-in) ตามกฎหมายระบุว่ากำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ในกรณีที่ผู้ซื้อนำสินทรัพย์ไปขายตีราคาแลกจะไม่มีผลทางภาษี เราสามารนำเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์ไปหักจากราคา สินทรัพย์ใหม่ได้ทันที
4. เงินทุนหมุนเวียน (Working Capitai) ในการลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ใหม่มาใช้ในการดำเนินงานกิจการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน การคำนวนเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ มีดังนี้
    เงินสดจ่ายลงทุน = เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร + เงินลงทุนหมุนเวียน
5. เงินลงทุนเพิ่มเติม (Additional Investment) สำหรับโครงการลงทุนใหญ่ๆ ที่ใช้เงินทุนมหาศาลและมีอายุโครงการยาวนาน ผู้ลงทุนจะต้องแบ่งระยะเวลาการลงทุนเป็นช่วงๆ อาจจะเป็นช่วง 3 ปี หรือ 5 ปี เช่นการก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท
  • ต้นทุนของทรัพย์สินใหม่ เช่น ที่ดิน  อาคาร  อุปกรณ์
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายด้วยเงินสด  เช่น  การลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายหลังหักภาษี  เช่น  ค่าฝึกอบรมพนักงาน
  • กระแสเงินสดหลังภาษีที่เกิดจากการขายทรัพย์สินเก่า
ผลกระทบทางภาษีจากการขายทรัพย์สินเก่า
ภาษีที่เกิดจากการขายทรัพย์สินเก่ามความเป็นไปได้ด้วยกัน 3 ประการ คือ

  • กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคามากกว่ามูคค่าตามบัญชี
             กรณีถือว่าเกิดกำไรจากการขายสินทรัพย์  ดังนั้นกำไรส่วนนี้จะต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ด้วย
ตัวอย่าง  บริษัท A ขายสินทรัพย์ราคา 150,000 บาท โดยสินทรัพย์ในบัญชี 50,000 บาท  ถ้าอัตราภาษี                    30% บริษัท A จะเสียภาษีเท่าใด
               = (150,000-50,000)*30%  
               = 100,000*30%
               = 30,000

  • กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคาเท่ากับมูลค่าตาบัญชี
              กรณีนี้ถือว่าไม่เกิดกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์  ดังนั้น  ไม่ต้องเสียภาษี (ไม่เกิดกระแสเงินสดรับ/กระแสเงินสดจ่าย)

  • กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคาน้อยกว่ามูลค่าตามบัญชี  
               แสดงว่าว่ามูลค่าซากของสินทรัพย์น้อยกว่ามูลค่าตามบัญชีทำให้เกิดการขาดทุน สามารถนำไปลดการเสียภาษีได้
ตัวอย่าง  บริษัท A ขายสินทรัพย์ 50,000 บาท โดยสินทรัพย์มีมูลค่าตามบัญชี 85,000 บาท อัตรา                            ดอกเบี้ย 30% บริษัท A  สามารถประหยัดภาษีได้เท่าไร
                    = (85,000 - 50,000)*30%
                    =35,000*30%
                    =10,500  บาท
ตัวอย่าง  กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
             บริษัท ชาตรี จำกัด  จะทำการซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าในราคา  80,000 บาท  นอกจากนั้นในการซื้อครั้งนี้ยังมีค่าขนส่ง  และค่าติดตั้ง จำนวน 2,000 และ 3,000 บาทตามลำดับ ถ้าเครื่องจักรเก่ายังเหลืออายุการใช้งานอยู่อีก 3 ปี โดยมีการตัดจ่ายค่าเสื่อมราคาปีละ 8,000 บาท และเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานเครื่องจักรเก่าจะมีมูลค่าตามบัญชีเท่ากับศูนย์พอดี  ซึ่งการซื้อเครื่องจักรใหม่นี้จะทำให้มีสินค้าระหว่างผลิตเพิ่มสูงขึ้น  10,000 บาท และเครื่องจักเก่าสามารถขายได้ในราคา  30,000 บาท บริษัท ชาตรี จำกัด  จะต้องให้เงินลงทุนในโครงการนี้จำนวนเท่าใด  ถ้าอัตราภาษีเท่ากับ 30%
กระแสเงินสดจ่าย : 
          ต้นทุนเครื่องจักรใหม่                                                        80,000
          ค่าขนส่ง                                                                              2,000
          ค่าติดตั้ง                                                                              3,000
      ต้นทุนซื้อเครื่องจักรใหม่                                                                                     85,000
      ภาษีจากการขายเครื่องจักรเก่า (30,000-24,000)*30%                                        1,800
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (การลงทุนในสินค้าเพิ่มขึ้น)                                               10,000                 รวมกระแสเงินสดจ่าย                                                                                 96,800
กระแสเงินสดรับ :
      รายได้จากการขายเครื่องจักรเก่า                                                         30,000
          กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ                                                        66,800

กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน
      ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

  • รายได้ส่วนเพิ่ม
  • ค่าแรงงานและค่าวัตถุดิบที่ประหยัดได้
  • การเพิ่มขึ้นของค่าโสหุ้ย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
  • ภาษีที่ประหยัดได้จากการเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อมราคาถ้าหากโครงการลงทุนใหม่ได้รับการคัดเลือก
หมายเหตุ  ถ้าโครงการลงทุนมีการจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน  ดอกเบี้ยจ่ายจากหนี้สินนั้นจะไม่นำมารวมคำนวณด้วย
ตัวอย่าง  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน
               จากตัวอย่าง บริษัทชาตรี จำกัดที่ผ่านมา  ถ้าสมมติเครื่องจักรใหม่จะทำให้บริษัทลดเงินเดือน  และสวัสดิการของพนักงานลงได้  10,000 บาท  และ2,000 บาท ตามลำดับ  นอกจากนั้นต้นทุนผลิตสินค้าเสียจะลดลงจากปีละ 8,000  บาท เป็นปีละ 3,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามบริษัทต้องเสียค่าบำรุงเครื่องจักรเพิ่มปีละ 4,000 บาท ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่ตัดจ่ายปีละ 16,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรเก่าตัดจ่ายปีละ 8,000 บาท การคำนวณค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่เป็นแบบเส้นตรงและอัตราภาษีเท่ากับ 30% จงหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มจากการดำเนินงานตามโครงการ
                                                                                                  กำไรบัญชี                  กระแสเงินสด
เงินสดที่ประหยัด : เงินเดือนพนักงานลดลง                                 10,000                           10,000
                              เงินสวัสดิการลดลง                                          2,000                             2,000
                              ต้นทุนผลิตสินค้าเสียลดลง                              5,000                             5,000
ค่าใช้จ่าย :  ค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น                                                 (4,000)                          (4,000)
                   ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น(16,000-8,000)                          (8,000)
เงินสดที่ประหยัดได้สุทธิก่อนภาษี                                                 5,000                           13,000
ภาษีจ่าย 30%           (5,000*30%)                                               (1,500)                          (1,500)
กระแสเงินสดสุทธิหลังหักภาษี                                                                                         (11,500)
ดังนั้น  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มจากการดำเนินงานตามโครงการเท่ากับ 11,500  บาทต่อปี

กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน  ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

  • มูลค่าซากสุทธิหลังภาษีของโครงการลงทุน
  • เงินสดจ่ายที่เกิดขึ้นจากการสิ้นสุดโครงการลงทุน เช่น ค่าชำระบัญชี
  • เงินทุนหมุนเวียนสุทธิที่ได้รับกลับคืนมาเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน  เช่น ค่าค้ำประกัน/เงินที่เราได้รับคืนมา
ตัวอย่าง  กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ
               จากตัวอย่าง บริษัทชาตรี จำกัดที่ผ่านมา  ถ้าสมมติเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนแล้วไม่มีการขายเครื่องจักรออกไปแต่อย่างใด  แต่บริษัทมีสินค้าระหว่างผลิตซึ่งจะได้รับการชำระกลับคืนเท่ากับ  5,000 บาท ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนจะเป็นเท่าใด
           มูลค่าซากสุทธิหลังหักภาษี                                   0
           บวก เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้น                   5,000
           กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน     5,000   
ดังนั้นกระแสเงินสดเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเท่ากับ  5,000 บาท

แผนภูมิตัวอย่างกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
           จากตัวอย่าง  บริษัทชาตรี จำกัด  สามารถนำกระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน  และกระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน  มาแสดงเป็นแผนภูมิกระแสเงินสดได้ดังนี้

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. การลงทุนในหลักทรัพย์ธุรกิจมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอะไรบ้าง
     1. ความปลอดภัยของเงินลงทุน (Security of Principal)
     2. ความมั่นคงของรายได้ (Stability of Income)
     3. ความคล่องตัวในการซื้อขาย (Marketability)
     4. อายุของหลับทรัพย์ 
     5. การเติบโตของเงินลงทุน (Capital Growth)

2. งบประมาณเงินสด (Cash Budgeting) คืออะไร?
          งบประมาณเงินสดจะแสดงถึงจำนวนเงินและเวลาที่เคลื่อนไหวเข้าออกในช่วงระยะหนึ่งซึ่งเกิด           จากผลการดำเนินงาน การจัดทำงบประมาณเงินสด อาจทำเป็นรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปี ซึ่งขึ้น     อยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของธุรกิจ

3.  เงินสดรับ (Receipts) กับเงินสดจ่าย (Disburstments) แตกต่างกันอย่างไร
          เงินสดรับ คือ เงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานที่เกิดจากการขายสินค้าเป็นเงินสด และรับชำระจาก      ลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายเชื่อ ส่วนเงินสดจ่าย คือ เงินสดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เช่น จ่าย        ค่าซื้อวัตถุดิบ จ่ายเงินเดือนและค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ดอกเบี้ย ภาษี เป็นต้น

4. บริษัท เคเอสชี จำกัด กำลังพิจารณาซื้อเครื่องจักรใหม่มาใช้แทนเครื่องจักรเก่า เครื่องจักรใหม่มีราคา     550,000 บาทเสียค่าขนส่งและติดตั้ง 50,000 บาท  อายุการใช้งาน 4 ปี เครื่องจักรเก่าที่ใช้อยู่ขณะนี้มี       ราคาตามบัญชีเหลืออยู่ 200,000 บาท  สามารถใช้งานได้ 4 ปี  คาดว่าจะขายได้ราคา 250,000 บาท         บริษัทเสียภาษี 35%  จงคำนวณหาเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิเครื่องจักรใหม่
     การคำนวณเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิเครื่องจักรใหม่มีดังนี้
     ราคาทุนของเครื่องจักรใหม่                                                                              550,000
     บวก  ค่าขนส่งและติดตั้ง                                                                                     50,000
                                                                                                                              600,000
     หัก  เงินสดรักจากการจำหน่ายเครื่องจักรเก่า : 
            ราคาตามบัญชีเครื่องจักรเก่า                                               200,000
            ราคาขาย                                                                             250,000
            กำไร                                                                                      50,000
            ภาษี 35%                                                                              17,500
     เงินสดรับจากการจำหน่ายเครื่องจักรเก่า  =250,000-17,500 =   232,500
     เงินสดจ่ายลงทุนสุทธิในเครื่องจักรใหม่                                     367,500

5.  จากข้อ 4 บริษัท เคเอสชี จำกัด สมมติว่าการซื้อเครื่องจักรใหม่ทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายปีละ          200,000 บาท  ตลอดอายุของเครื่องจักรใหม่  และเครื่องจักรใหม่มีมูลค่าซาก 100,000 บาท จง                คำนวณหากระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุเครื่องจักรใหม่
           การคำนวณกระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุเครื่องจักรใหม่ มีดังนี้
           ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้                                                                                      200,000
           หัก  ค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้น
                  - เครื่องจักรใหม่   600,000-100,000/4  = 125,000
                  - เครื่องจักรเก่า    200,000/4                =50,000                                           75,000
           กำไรก่อนภาษี                                                                                                   125,000
           หัก  ภาษี 35%                                                                                                     43,750
           กำไรสุทธิหลังภาษี                                                                                              81,250
           บวก  ค่าเสื่อมราคากลับคืน                                                                                  75,000
           กระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุเครื่องจักรใหม่                                                  156,250










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น