วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 3 งบลงทุน

บทที่ 3 งบลงทุน (Capital  Budgeting)

            งบลงทุน คือ แผนการใช้จ่ายลงทุนในทรัพย์สินถาวร (เงินที่เราใช้ลงทุนทำสินทรัพย์หรือทำธุรกิจ เช่น ที่ดิน อุปกรณ์)

ประเภทของโครงการลงทุน  แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.  โครงการลงทุนเพื่อลดต้นทุน (cost reduction project)  มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือการ        ดำเนินงานหรือเป็นโครงการที่ต้องการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพ
ตัวอย่าง  การลงทุนในเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าที่กำลังจะหมดอายุการใช้งาน โดย                        เครื่องจักรใหม่ต้องมีประสิทธิภาพกว่าเครื่องเก่าและสามารถลดต้นทุนการผลิตและการดำเนิน                  งานได้
2.  โครงการลงทุนใหม่ (expansion project)  เป็นการลงทุนนที่ต้องการจะตอสนองความต้องการของผู้          บริโภคที่เพิ่มขึ้นในสินค้าและบริการของบริษัท
ตัวอย่าง  บริษัททำการผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด
3.  โครงการลงทุนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือกฏหมาย (mandated project) การลงทุน        ประเภทนี้บริษัทจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการลงทุน  แต่ถ้าหากบริษัทไม่ปฏิบัติตามก็อาจ        จะมีปัญหาในการดำเนินงานได้
ตัวอย่าง  การลงทุนในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมหรือลงทุนสร้างระบบความปลอดภัยใน                อาคาร

ลักษณะของโครางการลงทุน  แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.  โครงการลงทุนที่อิสระต่อกัน  คือ ทำพร้อมกันได้ 2 โครงการ (ไม่มีการแข่งขันซึ่งกันและกัน) เช่น            โครงการวางระบบโทรศัพท์ใหม่  และโครงการสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่
2.  โครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน คือ ทำได้แค่โครงการเดียว เช่น  บริษัทจะลงทุนเปลี่ยน       เครื่องถ่ายเอกสารใหม่  บริษัทก็ต้องเลือกระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารสองยี่ห้อcanonหรือhp (เป็นการ         เปรียบเทียบ)

ขั้นตอนของการจัดทำงบลงทุน
1.  ทำการค้นหาหรือศึกษาการลงทุน เช่น ต้องใช้อะไรทำบ้าง  มีรายละเอียดอะไรบ้าง
2.  ประมาณการกระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน(มูลค่าของโครงการลงทุน)
3.  ประเมินโครงการลงทุนและตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน
4.  การดำเนินงานตามโครงการลงทุนและการตรวจสอบโครงการลงทุน

แนวทางการประมาณการกระแสเงินสด
1.  ควรใช้กระแสเงินสดเป็นเครื่องมือในการประมาณการมากกว่าผลกำไรในทางบัญชี
     การะแสเงินสด คือ เงินสดที่กิจการได้รับและสามารถนำไปลงทุนได้อีก
     กำไรในทางบัญชี  คือ สิ่งที่กิจการทำมาหาได้ แต่ไม่ใช่เงินสดที่มีจริงๆในมือ
         นอกจากนั้นเวลา(Time) ยังทำให้กระแสเงินสดกับกำไรแตกต่างกัน เนื่องจากกระแสเงินสดเป็นเครื่องมือในการสะท้อนความเป็นจริงของเวลาได้ดีกว่าทางบัญชี
2.  ควรคำนึงถึงส่วนเพิ่มหรือส่วนต่างของกระแสเงินสด  คือ เราต้องเปรียบเทียบว่าถ้าเราลงทุนกับไม่            ลงทุนในกิจการอันไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน
3.  ควรระมัดรัวังกระแสเงินสดที่มาจากการโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว  คือ  จะไม่พิจารณาจากกลุ่มของ              ลูกค้าเก่าที่เรามีอยู่แล้ว
4.  ควรพิจารณาถึงผลรวมของทั้งกิจการ
5.  ควรพิจารณาถึงความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น คือ ถ้าเราจะลงทุนกิจการใหม่เงินทุนเราพอ        ไหม
6.  ควรพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่ม คือ การพิจารณาโครงการลงทุนเราพิจารณากระแสเงินสดสุทธิ        ของโครงการ  ซึ่งจะเกิดจากการเปรียบเทียบระหว่าง
          - กระแสเงินสดรับส่วนเพิ่ม : ส่วนของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
          - กระแสเงินสดจ่ายส่วนเพิ่ม: ส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ตัวอย่าง  หากจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่  ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มเติม ได้แก่ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในการผลิต                                ผลิตภัณฑ์ใหม่  หรือ  ค่าวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
7.  ต้นทุนจมไม่ถือว่าเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม คือ เงินที่เราจ่ายไปแล้วไม่ว่าเราจะได้ใช้ประโยชน์หรือ        ไม่ได้ใช้ เราไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ เช่น ซื้อที่ดิน
8.  ควรพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาส  คือ  มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียไปในการเลือก        ทำกิจกรรมอย่าง
ตัวอย่าง  กิจการยอมรับโครงการใหม่ที่จะผลิตภัณฑ์ใหม่  ซึ่งจะต้องใช้พื้นที่ในการผลิต 50 ตารางเมตร                  โดยถ้ากิจการไม่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่  กิจการก็สามารถให้เช่าพื้นที่ 50 ตารางเมตรนี้ได้                  ในราคา 3,000 บาทต่อเดือน  ค่าเช่า 3,000 บาทนี้ คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาสซึ่งต้องนำมา                            พิจารณาในการวิเคราะห์โครงการด้วย
9.  ควรพิจารณาถึงต้นทุนส่วนกลางว่าเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหรือไม่  เช่น  ค่าน้ำปะปา  ค่าไฟฟ้า              เป็นต้น  ซึ่งต้องพิจารณาว่าต้นทุนดังกล่าวเป็นส่วนเพิิิ่มสำหรับโครงการลงทุนใหม่หรือไม่
10.  ดอกเบี้ยจ่ายและการจัดหาเงินทุนจะไม่นำมาพิจารณาในการประมาณการกระแสเงินสด

การประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
            การประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน  จะให้ความสนใจต่อกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหลังหักภาษี  สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.  กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
2.  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มตลอดอายุของโครงการ
3.  กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ

กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
            เป็นกระแสเงินสดจ่ายที่จำเป็นต่อการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในการดำเนินงานของบริษัทการคำนวนได้ดังนี้  ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
1. กรณีซื้อสินทรัพย์ใหม่เข้ามาใช้ในกิจการ
    เงินสดจ่ายลงทุน = ต้นทุนทางการบัญชีของสินทรัพย์ + ค่าขนส่ง + ค่าติดตั้งและทดลองเครื่อง
2. กรณีซื้อสินทรัพย์ใหม่และขายสินทรัพย์เดิม ซึ้งกรณีนี้จะมีกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์เดิมซึ่งจะได้รับผลกระทบด้านภาษี
3. กรณีนำสินทรัพย์เก่าไปแลก (Trade-in) ตามกฎหมายระบุว่ากำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ในกรณีที่ผู้ซื้อนำสินทรัพย์ไปขายตีราคาแลกจะไม่มีผลทางภาษี เราสามารนำเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์ไปหักจากราคา สินทรัพย์ใหม่ได้ทันที
4. เงินทุนหมุนเวียน (Working Capitai) ในการลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ใหม่มาใช้ในการดำเนินงานกิจการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน การคำนวนเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ มีดังนี้
    เงินสดจ่ายลงทุน = เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร + เงินลงทุนหมุนเวียน
5. เงินลงทุนเพิ่มเติม (Additional Investment) สำหรับโครงการลงทุนใหญ่ๆ ที่ใช้เงินทุนมหาศาลและมีอายุโครงการยาวนาน ผู้ลงทุนจะต้องแบ่งระยะเวลาการลงทุนเป็นช่วงๆ อาจจะเป็นช่วง 3 ปี หรือ 5 ปี เช่นการก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท
  • ต้นทุนของทรัพย์สินใหม่ เช่น ที่ดิน  อาคาร  อุปกรณ์
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายด้วยเงินสด  เช่น  การลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายหลังหักภาษี  เช่น  ค่าฝึกอบรมพนักงาน
  • กระแสเงินสดหลังภาษีที่เกิดจากการขายทรัพย์สินเก่า
ผลกระทบทางภาษีจากการขายทรัพย์สินเก่า
ภาษีที่เกิดจากการขายทรัพย์สินเก่ามความเป็นไปได้ด้วยกัน 3 ประการ คือ

  • กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคามากกว่ามูคค่าตามบัญชี
             กรณีถือว่าเกิดกำไรจากการขายสินทรัพย์  ดังนั้นกำไรส่วนนี้จะต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ด้วย
ตัวอย่าง  บริษัท A ขายสินทรัพย์ราคา 150,000 บาท โดยสินทรัพย์ในบัญชี 50,000 บาท  ถ้าอัตราภาษี                    30% บริษัท A จะเสียภาษีเท่าใด
               = (150,000-50,000)*30%  
               = 100,000*30%
               = 30,000

  • กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคาเท่ากับมูลค่าตาบัญชี
              กรณีนี้ถือว่าไม่เกิดกำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์  ดังนั้น  ไม่ต้องเสียภาษี (ไม่เกิดกระแสเงินสดรับ/กระแสเงินสดจ่าย)

  • กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคาน้อยกว่ามูลค่าตามบัญชี  
               แสดงว่าว่ามูลค่าซากของสินทรัพย์น้อยกว่ามูลค่าตามบัญชีทำให้เกิดการขาดทุน สามารถนำไปลดการเสียภาษีได้
ตัวอย่าง  บริษัท A ขายสินทรัพย์ 50,000 บาท โดยสินทรัพย์มีมูลค่าตามบัญชี 85,000 บาท อัตรา                            ดอกเบี้ย 30% บริษัท A  สามารถประหยัดภาษีได้เท่าไร
                    = (85,000 - 50,000)*30%
                    =35,000*30%
                    =10,500  บาท
ตัวอย่าง  กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
             บริษัท ชาตรี จำกัด  จะทำการซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าในราคา  80,000 บาท  นอกจากนั้นในการซื้อครั้งนี้ยังมีค่าขนส่ง  และค่าติดตั้ง จำนวน 2,000 และ 3,000 บาทตามลำดับ ถ้าเครื่องจักรเก่ายังเหลืออายุการใช้งานอยู่อีก 3 ปี โดยมีการตัดจ่ายค่าเสื่อมราคาปีละ 8,000 บาท และเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานเครื่องจักรเก่าจะมีมูลค่าตามบัญชีเท่ากับศูนย์พอดี  ซึ่งการซื้อเครื่องจักรใหม่นี้จะทำให้มีสินค้าระหว่างผลิตเพิ่มสูงขึ้น  10,000 บาท และเครื่องจักเก่าสามารถขายได้ในราคา  30,000 บาท บริษัท ชาตรี จำกัด  จะต้องให้เงินลงทุนในโครงการนี้จำนวนเท่าใด  ถ้าอัตราภาษีเท่ากับ 30%
กระแสเงินสดจ่าย : 
          ต้นทุนเครื่องจักรใหม่                                                        80,000
          ค่าขนส่ง                                                                              2,000
          ค่าติดตั้ง                                                                              3,000
      ต้นทุนซื้อเครื่องจักรใหม่                                                                                     85,000
      ภาษีจากการขายเครื่องจักรเก่า (30,000-24,000)*30%                                        1,800
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (การลงทุนในสินค้าเพิ่มขึ้น)                                               10,000                 รวมกระแสเงินสดจ่าย                                                                                 96,800
กระแสเงินสดรับ :
      รายได้จากการขายเครื่องจักรเก่า                                                         30,000
          กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ                                                        66,800

กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน
      ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

  • รายได้ส่วนเพิ่ม
  • ค่าแรงงานและค่าวัตถุดิบที่ประหยัดได้
  • การเพิ่มขึ้นของค่าโสหุ้ย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
  • ภาษีที่ประหยัดได้จากการเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อมราคาถ้าหากโครงการลงทุนใหม่ได้รับการคัดเลือก
หมายเหตุ  ถ้าโครงการลงทุนมีการจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน  ดอกเบี้ยจ่ายจากหนี้สินนั้นจะไม่นำมารวมคำนวณด้วย
ตัวอย่าง  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน
               จากตัวอย่าง บริษัทชาตรี จำกัดที่ผ่านมา  ถ้าสมมติเครื่องจักรใหม่จะทำให้บริษัทลดเงินเดือน  และสวัสดิการของพนักงานลงได้  10,000 บาท  และ2,000 บาท ตามลำดับ  นอกจากนั้นต้นทุนผลิตสินค้าเสียจะลดลงจากปีละ 8,000  บาท เป็นปีละ 3,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามบริษัทต้องเสียค่าบำรุงเครื่องจักรเพิ่มปีละ 4,000 บาท ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่ตัดจ่ายปีละ 16,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรเก่าตัดจ่ายปีละ 8,000 บาท การคำนวณค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่เป็นแบบเส้นตรงและอัตราภาษีเท่ากับ 30% จงหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มจากการดำเนินงานตามโครงการ
                                                                                                  กำไรบัญชี                  กระแสเงินสด
เงินสดที่ประหยัด : เงินเดือนพนักงานลดลง                                 10,000                           10,000
                              เงินสวัสดิการลดลง                                          2,000                             2,000
                              ต้นทุนผลิตสินค้าเสียลดลง                              5,000                             5,000
ค่าใช้จ่าย :  ค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น                                                 (4,000)                          (4,000)
                   ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น(16,000-8,000)                          (8,000)
เงินสดที่ประหยัดได้สุทธิก่อนภาษี                                                 5,000                           13,000
ภาษีจ่าย 30%           (5,000*30%)                                               (1,500)                          (1,500)
กระแสเงินสดสุทธิหลังหักภาษี                                                                                         (11,500)
ดังนั้น  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มจากการดำเนินงานตามโครงการเท่ากับ 11,500  บาทต่อปี

กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน  ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

  • มูลค่าซากสุทธิหลังภาษีของโครงการลงทุน
  • เงินสดจ่ายที่เกิดขึ้นจากการสิ้นสุดโครงการลงทุน เช่น ค่าชำระบัญชี
  • เงินทุนหมุนเวียนสุทธิที่ได้รับกลับคืนมาเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน  เช่น ค่าค้ำประกัน/เงินที่เราได้รับคืนมา
ตัวอย่าง  กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ
               จากตัวอย่าง บริษัทชาตรี จำกัดที่ผ่านมา  ถ้าสมมติเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนแล้วไม่มีการขายเครื่องจักรออกไปแต่อย่างใด  แต่บริษัทมีสินค้าระหว่างผลิตซึ่งจะได้รับการชำระกลับคืนเท่ากับ  5,000 บาท ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนจะเป็นเท่าใด
           มูลค่าซากสุทธิหลังหักภาษี                                   0
           บวก เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้น                   5,000
           กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน     5,000   
ดังนั้นกระแสเงินสดเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเท่ากับ  5,000 บาท

แผนภูมิตัวอย่างกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
           จากตัวอย่าง  บริษัทชาตรี จำกัด  สามารถนำกระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ  กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน  และกระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน  มาแสดงเป็นแผนภูมิกระแสเงินสดได้ดังนี้

แบบฝึกหัดท้ายบท

1. การลงทุนในหลักทรัพย์ธุรกิจมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอะไรบ้าง
     1. ความปลอดภัยของเงินลงทุน (Security of Principal)
     2. ความมั่นคงของรายได้ (Stability of Income)
     3. ความคล่องตัวในการซื้อขาย (Marketability)
     4. อายุของหลับทรัพย์ 
     5. การเติบโตของเงินลงทุน (Capital Growth)

2. งบประมาณเงินสด (Cash Budgeting) คืออะไร?
          งบประมาณเงินสดจะแสดงถึงจำนวนเงินและเวลาที่เคลื่อนไหวเข้าออกในช่วงระยะหนึ่งซึ่งเกิด           จากผลการดำเนินงาน การจัดทำงบประมาณเงินสด อาจทำเป็นรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปี ซึ่งขึ้น     อยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของธุรกิจ

3.  เงินสดรับ (Receipts) กับเงินสดจ่าย (Disburstments) แตกต่างกันอย่างไร
          เงินสดรับ คือ เงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานที่เกิดจากการขายสินค้าเป็นเงินสด และรับชำระจาก      ลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายเชื่อ ส่วนเงินสดจ่าย คือ เงินสดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน เช่น จ่าย        ค่าซื้อวัตถุดิบ จ่ายเงินเดือนและค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ดอกเบี้ย ภาษี เป็นต้น

4. บริษัท เคเอสชี จำกัด กำลังพิจารณาซื้อเครื่องจักรใหม่มาใช้แทนเครื่องจักรเก่า เครื่องจักรใหม่มีราคา     550,000 บาทเสียค่าขนส่งและติดตั้ง 50,000 บาท  อายุการใช้งาน 4 ปี เครื่องจักรเก่าที่ใช้อยู่ขณะนี้มี       ราคาตามบัญชีเหลืออยู่ 200,000 บาท  สามารถใช้งานได้ 4 ปี  คาดว่าจะขายได้ราคา 250,000 บาท         บริษัทเสียภาษี 35%  จงคำนวณหาเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิเครื่องจักรใหม่
     การคำนวณเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิเครื่องจักรใหม่มีดังนี้
     ราคาทุนของเครื่องจักรใหม่                                                                              550,000
     บวก  ค่าขนส่งและติดตั้ง                                                                                     50,000
                                                                                                                              600,000
     หัก  เงินสดรักจากการจำหน่ายเครื่องจักรเก่า : 
            ราคาตามบัญชีเครื่องจักรเก่า                                               200,000
            ราคาขาย                                                                             250,000
            กำไร                                                                                      50,000
            ภาษี 35%                                                                              17,500
     เงินสดรับจากการจำหน่ายเครื่องจักรเก่า  =250,000-17,500 =   232,500
     เงินสดจ่ายลงทุนสุทธิในเครื่องจักรใหม่                                     367,500

5.  จากข้อ 4 บริษัท เคเอสชี จำกัด สมมติว่าการซื้อเครื่องจักรใหม่ทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายปีละ          200,000 บาท  ตลอดอายุของเครื่องจักรใหม่  และเครื่องจักรใหม่มีมูลค่าซาก 100,000 บาท จง                คำนวณหากระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุเครื่องจักรใหม่
           การคำนวณกระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุเครื่องจักรใหม่ มีดังนี้
           ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้                                                                                      200,000
           หัก  ค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้น
                  - เครื่องจักรใหม่   600,000-100,000/4  = 125,000
                  - เครื่องจักรเก่า    200,000/4                =50,000                                           75,000
           กำไรก่อนภาษี                                                                                                   125,000
           หัก  ภาษี 35%                                                                                                     43,750
           กำไรสุทธิหลังภาษี                                                                                              81,250
           บวก  ค่าเสื่อมราคากลับคืน                                                                                  75,000
           กระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุเครื่องจักรใหม่                                                  156,250










บทที่ 14 การจัดการลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ
การจัดการลูกหนี้ (Accounts Receivable Managemet)
         มีวัตุประสงค์การดำเนินงานเพื่อขายสินค้าหรือบริการ  การขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อทำให้บริษัทมีบัญชีลูกหนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้นการขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อนั้นควรมีวิธีการจัดเก็บหนี้ที่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้บริษัทเกิดปัญหาการเกิดสภาพคล่อง มีผลต่อมูลค่าบริษัทด้วย

 ปัจจัยการกำหนดขนาดของลูกหนี้การค้า

1.ระดับของเงินทุนหมุนเวียน : ธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนสูง ย่อมมีความสามารถในการขายสินค้าได้ เนื่องจากมีเงินทุนเพียงพอในการลงทุนบัญชีลูกหนี้ แต่ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่มีเงินทุนหมุนเวียนต่ำย่อมไม่สามาถขายสินค้าเป็นเงินเชื่อได้ จำเป็นต้องขายสินค้าเป็นเงินสดเพื่อให้ได้เงินสดมาหมุนเวียนในกิจการ

2.การกำหนดอัตราส่วนลดเงินสด : ในการที่ธุรกิจขายสินค้าเป็นเงินเชื่อก็จะมีลูกหนี้การค้าเกิดขึ้น ถ้าธุรกิจต้องการให้ลูกหนี้การค้ามาชำระหนี้เร็วขึ้น ก็จะกำหนดส่วนลดเงินสดเพื่อให้ลูกหนี้ชำระเร็วขึ้น

3.ระยะเวลาการให้ส่วนลดเงินสด : โดยปกติแล้วลูกหนี้พอใจที่จะได้รับส่วนลดเงินสด ถ้าธุรกิจขยายระยะเวลา การให้ส่วนลดเงินสดจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นด้วย

4.ระยะเวลาการชำระหนี้ : โดยปกติลูกหนี้มักจะมาชำระหนี้ในวันสุดท้ายของระยะเวลาการชำระหนี้ หากธุรกิจขยายระยะเวลาให้นานขึ้น ลูกหนี้ก็จะพอใจทำให้ยอดขายเชื่อเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าธุรกิจลดระยะเวลาการชำระหนี้ลงยอดขายก็จะลดลงด้วย

5.การติดตามทวงถามหนี้ : ถ้าธุรกิจติดตามทวงถามหนี้อย่างเข้มงวดจะทำให้ลูกหนี้ชำระหนี้เร็วขึ้น

6.มาตรฐานของลูกหนี้ : การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะทำเมื่อลูกหนี้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ธูรกิจยอมรับได้ การที่ธุรกิจกำหนดมาตรฐานเครดิตให้สูงขึ้น จะทำให้ได้ลูกหนี้ที่ดีสามารถชำระหนี้ได้

เงื่อนไขการให้เครดิต ประกอบด้วย  

1.การขยายระยะเวลาการให้เครดิต : การให้เครดิตจะมีผลกระทบต่อปริมาณการขายมาก เพราะถ้าคู่แข่งขันได้ขยายระยะเวลาการให้เครดิตออกไปในขณะที่ธุรกิจยังคงให้นโยบายการให้เครดิตเช่นเดิม จะทำให้ยอดขายของธุรกิจลดลง ดังนั้นธุรกิจจึงใช้ระยะเวลาการให้เครดิตเป็นตัวส่งเสริมการขาย แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจควรจะลดมาตรฐานการให้เครดิตลงได้เท่าที่ธุรกิจมีกำไรส่วนเกินสูงกว่าค่าใช่จ่ายส่วนเพิ่มจากการมีลูกหนี้เพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง 
     บริษัท ทานตะวัน จำกัด เป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ ต้องการขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ จากเดิม 30 วัน เป็น 72 วัน ซึ่งคาดว่าจำทำให้ยอดขายสูงขึ้นจากเดิม 20,000 หน่วย เป็น  24,000 หน่วย หนี้สูญคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.5 % เป็น 2% ราคาสินค้าขายหน่วยละ 80 บาท ต้นทุนผันแปรได้หน่วยละ 70 บาท ถ้าบริษัทต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน 16% อยากทราบว่าบริษัทควรขยายระยะเวลาในการชำระหนี้หรือไม่

    วิธีคำนวณ  โดยการเปรียบเทียบระหว่างรายได้ส่วนเพิ่มจากการขยายระยะเวลาในการให้เครดิตกับค่าใช้จ่าย ส่วนเพิ่มในการมีการมีลูกหนี้เพิ่มขึ้น

 
                                                                       นโยบายเดิม       นโยบายใหม่      เพิ่มขึ้น/ลดลง
ระยะเวลาในการเก็บหนี้                                        30 วัน                 72 วัน                  42 วัน
จำนวนหน่วยขาย                                                 20,000               24,000                +4,000
ราคาขายต่อหน่วย(บาท)                                        80                        80          
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย(บาท)                                 70                        70
ลูกหนี้การค้า                                            = 30*1,600,000          72*1,920,000
                                                                         360                           360
                                             
                                                                =  133,333                        384,000            +250,667
หนี้สูญ                                                           0.5%                                2%

            ขั้นที่ 1  คำนวณหารายได้ส่วนเพิ่มจากการขยายระยะเวลาการให้เครดิต
กำไรส่วนเพิ่ม                     =  กำไรส่วนเกินต่อหน่วย * หน่วยขายเพิ่ม
                                          =  (80-70)*4,000 บาท
                                          = 40,000 บาท
        
            ขั้นที่ 2  คำนวณหาค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม
ยอดลูกหนี้เพิ่มขึ้น              = อัตราร้อยละของต้นทุนผันแปรได้ * ยอดลูกหนี้เพิ่มขึ้น
                                          = 87.5% * 250,667 บาท
                                          = 219,334 บาท

ผลตอบแทนที่ต้องการ      = อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน * เงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่มขึ้น
                                          = 16% * 219,334 บาท
                                          = 35,093 บาท

หนี้สูญเพิ่มขึ้น                   = หนี้สูญใหม่ - หนี้สูญเดิม
                                         = (2% * 1,920,000) - (0.5%*1,600,000)
                                         = 38,400 - 8,000 บาท
                                         = 30,400 บาท

ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มทั้งสื้น   = 35,093 + 30,400 บาท
                                         = 65,493 บาท

              ขั้นที่ 3 เปรียบเทียบระหว่างรายได้ส่วนเพิ่มกับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม
กำไรสุทธิลดลง                = 40,000 - 65,493 บาท
                                         = -25,493 บาท

           ดังนั้น     บริษัท ทานตะวัน จำกัด ไม่ควรขยายเวลาการให้เครดิตจาก 30 วัน เป็น 72 วัน เพราะ ทำให้ได้รับกำไร ลดลง 25,493 บาท

  2.  การให้ส่วนลดเงินสดและระยะเวลาการให้ส่วนลด

    การกำหนดส่วนลดเงินสดมีวัตถุประสงค์ให้ลูกหนี้ชำระหนี้เร็วขึ้น เพื่อธุรกิจจะได้เงินสดมาหมุนเวียนในกิจการ ส่วนลดเงินสดจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการซื้อสินค้าและหนี้สูญของธุรกิจ

ตัวอย่าง
      บริษัท เอกธุรกิจ จำกัด  มียอดขายเชื่อปีละ 6.0 ล้านบาท ระยะเวลาการเก็บหนี้โดยเฉลี่ย 2 เดือน ต้นทุนแปรได้ 75%  บริษัทกำลังพิจารณาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการขายซึ่งเดิมให้เครดิต 45 วันเป็นเงื่อไขการขาย 2/10, n/45 ปรากฏว่าระยะเวลาการเก็บหนี้โดยเฉลี่ยลดลงเหลือ 1 เดือน ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 8.0 ล้านบาท และลูกค้า 50% จะชำระภายในกำหนดเวลาเพื่อรับส่วนลด 2% ถ้าบริษัทต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน 20% อยากทราบว่าบริษัทควรเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการขายหรือไม่

      วิธีคำนวณ โดยการเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดเก็บหนี้เร็วขึ้น กับรายจ่ายส่วนลดเงินสด

                                                                  นโยบายเดิม             นโยบายใหม่             เพิ่ม/ลด
ระยะเวลาการเก็บหนี้                                      60 วัน                     30 วัน                       (30 วัน)
ยอดขาย (ล้านบาท)                                       6.0                           8.0                           + 2.0
ลูกหนี้การค้า                                       =60*6,000,000                30*8,000,000                                         
                                                                   360                                360

                                                          = 1,000,000                        666,667                  (333,333) 
ส่วนลดเงินสด                                    =      -                                     2%

            ขั้นที่ 1 คำนวณหาผลประโยชน์จากการเก็บหนี้เร็วขึ้น
ผลประโยชน์ที่ได้จากการเก็บหนี้เร็วขึ้น              =  อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน*ยอดลูกหนี้ลดลง
ยอดลูกหนี้ลดลง                                                 =  ลูกหนี้เดิม - ลูกหนี้ใหม่
                                                                           =  1,000,000 - 666,667 บาท
                                                                           =  333,333 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ                                           =  20% * 333,333 บาท
                                                                           =  66,667 บาท
กำไรส่วนเพิ่ม                                                     =  อัตราร้อยละกำไรส่วนเกิน*ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
                                                                          =  25% * 2,000,000 บาท
                                                                          =  500,000 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับสุทธิ                                   =  66,667 + 500,000 บาท
                                                                          =  566,667 บาท

             ขั้นที่ 2 คำนวณหารายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้ส่วนลดรายจ่ายส่วนลด
รายจ่ายส่วนลด                                                  = อัตราส่วนลดจ่าย*อัตราร้อยละลูกหนี้มารับส่วนลด
                                                                                *ยอดขายเชื่อ
                                                                          = 2% * 50% * 8,000,000
                                                                          = 80,000 บาท

             ขั้นที่ 3 เปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับกับรายจ่ายส่วนลดเงินสด
กำไรเพิ่มขึ้นสุทธิ                                              =  566,667 - 80,000 บาท
                                                                         =  486,667 บาท

    ดังนั้น  บริษัทควรเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเครดิตเป็น 2/10 , n/45  เพราะ ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 486,667 บาท


การตัดสินใจเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ
    ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ ประกอบด้วย

1. เงื่อนไขการขาย (Terms of Sale) : จะแสดงถึงระยะเวลาการให้ส่วนลดและระยะเวลาการให้สินเชื่อ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่รับส่วนลดเงินสดนั้นจะทำให้ลูกหนี้เกิดต้นทุนขึ้น

2. ประเภทของลูกค้า (Type of Customer) : ในการพิจารณาว่าลูกค้าควรได้รับสินเชื่อจากบริษัทหรือไม่นั้น บริษัทจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการชำระยะสั้น สภาพคล่อง และความสามารถในการทำกำไรของลูกหนี้  ถ้า
      -บริษัทให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่มีความเชื่อต่ำ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้จะสูงขึ้น เกิดต้นทุนการจัดเก็บหนี้ และต้นทุนการผิดนัดการชำระหนี้สูงด้วย
      -บริษัทให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้จะต่ำขึ้น เกิดต้นทุนการจัดเก็บหนี้ และต้นทุนการผิดนัดการชำระหนี้ต่ำด้วย

3. Credit Scoring : เป็นการประเมินลูกหนี้แต่ละรายด้วยตัวเลข โดยลูกหนี้แต่ละรายจะได้รับคะแนนจากการตอบคำถามจากแบบสอบถาม และคะแนนที่ได้นั้นจะนำไปปประเมินโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งคะแนนที่ได้นั้นจะใช้ตัดสินว่าบริษัทควรให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายนั้นหรือไม่

4. การจัดเก็บหนี้ (Collection Efforts) : ทุกบริษัทพยายามลดจำนวนลูกหนี้ที่ค้างชำระให้น้อยที่สุด โดยการเก็บหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่จะทราบได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการควบคุม และจัดเก็บลูกหนี้ได้ดีเท่าใดนั้น ดูได้จากอัตราส่วนระยะเวลาการจัดเก็บเงิน หรือ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ ซึ่งอยู่ในการวิเคาระห์อัตราส่วนทางการเงิน

5. การแยกอายุลูกหนี้ : เป็นเทคนิคการแบ่งลูกหนี้ออกเป็นกลุ่มๆตามอายุของลูกหนี้


การวิเคราะห์การเปลี่ยนนโยบายการให้สินเชื่อ
           จะมีผลโดยตรงต่อผลได้ผลเสียระหว่างต้นทุนและผลประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับ โดยการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงนี้จะใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ส่วนเพิ่ม (Marginal analysis) ก็คือ การเปรียบเทียบระหว่างรายได้ส่วนเพิ่มกับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม ทั่วไปการวิเคราะห์นี้จะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
มี 3 ประการ     - การเปลี่ยนแปลงความสามารถการชำระหนี้ของลูกหนี้
                       - การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการจัดเก็บหนี้
                       - การเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขการให้ส่วนลดเงินสด

การคำนวณมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : ประมาณการเปลี่ยนแปลงในกำไร

ขั้นตอนที่ 2 : ประมาณการต้นทุนส่วนเพิ่มในการลงทุนในลูกหนี้และสินค้าคงเหลือ

ขั้นตอนที่ 3 : ประมาณการต้นทุนของส่วนลดเงินสดที่ให้แก่ลูกหนี้ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการให้ส่วนลด
เงินสด)

ขั้นตอนที่ 4 : เปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่มกับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม




การจัดการสินค้าคงเหลือ (Inventory Management)
           สินค้าคงเหลือประกอบด้วย วัตถุดิบ , สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ความสำคัญของการจัดการสินค้าคงเหลือขึ้นอยู่กับระดับการลงทุน โดยการลงทุนที่มากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัท คือ
- การลงทุนในสินค้าคงเหลือน้อยเกินไป จะขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้สินค้าไม่พอขาย
- การลงทุนในสินค้าคงเหลือมากเกินไป จะมีสภาพคล่องสูง ทำให้สินค้าคงเหลือมีมาก เป็นเหตุให้สินค้าล้าสมัย

เทคนิคการจัดการสินค้าคงเหลือ : การจัดการสินค้าคงเหลือที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการควบคุมการลงทุนในสินค้าที่ดี ซึ่งจะมีเทคนิคอยู่ 2 ประการ คือ
- ปริมาณการสั่งซื้อสินค้า
- จุดสั่งซื้อสินค้า

1. ปริมาณการสั่งซื้อสินค้า : จะเกี่ยวกับการกำหนดปริมาณที่เหมาะสมในการสั่งซื้อสินค้าคงเหลือให้เพียงพอต่อความต้องการที่คาดว่าจะต้องงใช้สินค้านั้น มีเทคนิคในการหาเรียกว่า "ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด"(Economic Order Quantity ; EOQ ) หาได้จาก

**ต้นทุนสินค้าคงเหลือรวม = ต้นทุนในการเก็บรักษารวม + ต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้ารวม

  • ต้นทุนในการเก็บรักษารวม

    Q * C       โดยที่   Q = ปริมาณสินค้าที่สั่งซื้อ
    2                           C = ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าต่อหน่วย
  • ต้นทุนการสั่งซื้อสินค้ารวม

    S * O        โดยที่   S =  ความต้องการสินค้ารวมตลอดช่วงระยะเวลา
    Q                          O =  ค่าใช้จ่ายการสั่งซื้อสินค้าต่อครั้ง


           ดังนั้น   TC = Q * C + S * O
                                 2           Q
    เพราะฉะนั้น  ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด หรือ EOQ

                   Q = 2SO
                            C  
                                                 

ข้อสมมติฐานของแบบจำลอง EOQ
           -  ความต้องการสินค้าต้องคงที่และแน่นอนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
           -  ราคาสินค้าขายต่อหน่วยจะต้องคงที่
           -  ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาต่อหน่วยคงที่
           -  ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าต่อครั้งจะต้องคงที่
           -  การส่งต่อสินค้าจะต้องกระทำทันที
           -  สินค้าที่สั่งซื้อในแต่ละครั้งจะต้องเป็นสินค้าหนึ่งชนิดเท่านั้น


จุดสั่งซื้อสินค้า (Reorder Point) : จะเกี่ยวข้องกับการมีสินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัยของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องคำนวณต่อไปว่าจุดสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมควรเป็นเมื่อใด โดยปัจจัย 2 ประการ คือ

     1.ระดับสินค้าในช่วงระยะเวลาการสั่งซื้อและรับสินค้า

สามารถคำนวณได้จาก สูตร  โดยที่  ROP = จุดสั่งซื้อสินค้า

                                                                    LT = ระยะเวลาการสั่งซื้อสินค้า
                     ROP = LT(d) + SS                 d   =  อัตราการใช้หรือขายสินค้าในช่วงเวลาหนึ่ง
                                                                    SS =  สินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัย
ตัวอย่างเช่น   

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการมีสินค้าคงเหลือ    

    1. Cost of Inventory หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ให้ได้มาซึ่งสินค้านั้น ได้แก่ มูลค่าของสินค้าที่ซื้อมาตามราคาขายที่ผู้ขายกำหนด รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น ค่าขนส่ง ค่าหีบห่อ เป็นต้น

    2. Carrying Cost หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าไว้เพื่อผลิต กล่าวคือ ถ้าธุรกิจเก็บสินค้าคงเหลือไว้มากค่าใช้จ่ายจะสูง

    3.  Ordering Cost หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสินค้าประกอบด้วย ค่าเอกสารในการสั่งซื้อสินค้า  ค่าโทรศัพท์  ค่าไปรษณีย์  เงินเดือนของพนักงานฝ่ายจัดซื้อ  ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้งจะมีจำนวนค่อนข้างแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของการสั่งซื้อ

   4.   ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าล้าสมัยหรือการที่สินค้ามีราคาลดลง ทำให้ธุรกิจประสบกับการขาดทุน


การควบคุมสินค้าคงเหลือ :  การที่ธุรกิจสามารถควบคุมสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพนั้น ธุรกิจจะต้องพยายามรักษาระดับสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ให้มีสินค้าคงเหลือมากเกินไป  ซึ่งจะทำให้เงินทุนไปจมอยู่ในสินค้าคงเหลืออันอาจก่อให้เกิดปัญหาสภาพคล่องได้ หากมีสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปทำให้ธุรกิจสูญเสียรายได้และกำไรลดลง    สามารถควบคุมให้มีประสิทธิภาพได้ดังนี้

 1.  ประมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด
 2.  จุดสั่งซื้อ
 3.  ส่วนลดเงินสดที่ได้รับจากการซื้อสินค้าจำนวนมาก
 4.  การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัย




แบบฝึกหัด

1. บริษัท คาราเมล จำกัด มียอดขายเฉลี่ย 4.0 ล้านบาท ระยะเวลาการเก็บหนี้เฉลี่ย 2 เดือน ต้นทุนแปรได้ 75% บริษัทกำลังพิจารณาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการขายซึ่งเดิมให้เครดิต 45 วัน เป็นเงื่อนไขการขาย 2/10,n/45 ปรากฏว่าระยะเวลาการเก็บหนี้โดยเฉลี่ยลดลง 1 เดือน ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 6.0 ล้านบาท และลูกค้า 50% จะชำระภายในกำหนดเวลาเพื่อรับส่วนลด 2% ถ้าบริษัทต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน 20% อยากทราบว่าบริษัทควรเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการขายหรือไม่

                                                               นโยบายเดิม               นโยบายใหม่             เพิ่ม/ลด
ระยะเวลาเก็บหนี้                                        60 วัน                        30  วัน                    (30 วัน)
ยอดขาย                                                     4.0                              6.0                         +2.0
ลูกหนี้การค้า                                   = 60*4,000,000               30*6,000,000
                                                                360                                360
                                                        = 666,667                         500,000                   (166,667)
ส่วนลดเงินสด                                  =    -                                     2 %

        ขั้นที่ 1 คำนวณหาผลประโยชน์จากการเก็บหนี้เร็วขึ้น
ผลประโยชน์ที่ได้จากการเก็บหนี้เร็วขึ้น              =  อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน*ยอดลูกหนี้ลดลง
ยอดลูกหนี้ลดลง                                                 =  ลูกหนี้เดิม - ลูกหนี้ใหม่
                                                                           = 666,667 - 500,000 บาท
                                                                           =  166,667 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ                                           = 20%*166,667 บาท
                                                                           = 33,333 บาท
กำไรส่วนเพิ่ม                                                     =  อัตราร้อยละกำไรส่วนเกิน*ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
                                                                          = 25% * 2,000,000 บาท 
                                                                          = 500,000 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับสุทธิ                                   = 33,333 + 500,000 บาท
                                                                          = 533,333 บาท

        ขั้นที่ 2 คำนวณหารายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้ส่วนลดรายจ่ายส่วนลด
รายจ่ายส่วนลด                                                  = อัตราส่วนลดจ่าย*อัตราร้อยละลูกหนี้มารับส่วนลด
                                                                                *ยอดขายเชื่อ
                                                                          = 2% * 50% * 6,000,000 บาท
                                                                          = 60,000 บาท

        ขั้นที่ 3 เปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับกับรายจ่ายส่วนลดเงินสด
กำไรเพิ่มขึ้นสุทธิ                                               = 533,333-60,000 บาท
                                                                          = 473,333 บาท

   ดังนั้น  บริษัทควรเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเครดิตเป็น 2/10,n/45 เพราะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 473,333 บาท

2.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ มีอะไรบ้าง

- 1.เงื่อนไขการขาย  (Terms of Sale)
  - 2.ประเภทของลูกค้า (Type of customer)
  - 3.Credit  Scoring
  - การจัดเก็บหนี้ (Collection Efforts)
  - การแยกอายุลูกหนี้

3.นโยบายสินเชื่อและการจัดเก็บเงินมีผลต่อขนาดการลงทุนอย่างไร

  - ถ้าบริษัทมีนโยบายสินเชื่อและการจัดเก็บเงินแบบผ่อนปรนจะทำให้บริษัทมีลูกหนี้สูง
  - แต่ถ้าบริษัทมีนโยบายสินเชื่อและการจัดเก็บเงินแบบเข้มงวดจะทำให้บริษัทมีลูกหนี้ต่ำ

4. ถ้าบริษัทมีการลงทุนที่มากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัท อย่างไร

 - ถ้าลงทุนในสินค้าคงเหลือน้อยเกินไป บริษัทจะขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้สินค้าไม่พอขาย
 - แต่ถ้าลงทุนในสินค้าคงเหลือมากเกินไป บริษัทจะมีสภาพคล่องสูง ทำให้สินค้าคงเหลือมีมาก เป็นเหตุให้สินค้าล้าสมัย
                                                                       
5. S = 25,000 หน่วยต่อปี    O = 2,000  บาทต่อครั้ง  C  =  25 %  ของราคาสินค้าต่อหน่วย
    ราคาต่อหน่วย  5.62  บาท